วันศุกร์ที่ 3กันยายน 2020 สมาคมนักธุรกิจปักกิ่ง ประเทศไทยร่วมกับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีนประจำประเทศไทย และนิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง ประเทศไทยจัดการประชุมสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสทางธุรกิจและรูปแบบใหม่ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมไทย-จีนภายใต้กรอบความตกลง RCEP ในยุคหลังCovid19” บนแพลตฟอร์มการประชุมคลาวด์ของงานแสดงสินค้าภาคบริการนานาชาติจีน ประจำปี 2021

ความตกลงRCEPได้มีการลงนามในที่สุดหลังจากมีการเจรจากันมานานถึง 8 ปี RCEP มีจุดประสงค์ในการสร้างตลาดการค้าเสรีแบบครบวงจรผ่านการลดภาษีและกำแพงภาษี มุมมองจากอิทธิพลของทั่วโลก RCEP คือข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่และมีอิทธิพลที่สุดในโลกซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

การมีผลบังคับใช้และการดำเนินการตาม RCEP จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างมาก ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิก RCEP ไม่เพียงได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์เท่านั้นแม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดCovid19 ไทยและจีนยังคงรักษาการพัฒนาที่ดีในด้านการลงทุนและการค้า ประเทศไทยอยู่ภายใต้การแข่งขันที่เข้มข้นที่ครอบคลุมในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และรวมถึงสภาพแวดล้อมด้านวัฒนธรรมจนกลายเป็นสถานที่ทางยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคที่สำคัญสำหรับบริษัทจีนในการขยายตลาดอาเซียน

เวทีการอภิปรายในครั้งนี้ได้เชิญแขกรับเชิญจากสาขาต่างๆทั้งด้านการร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และภาคอุตสาหกรรมมาทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับโอกาสและรูปแบบใหม่ทางธุรกิจภายใต้กรอบความตกลง RCEP

คุณหวังลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และคุณชิยาวรรณ จงวัฒนา อัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์ จากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่งกล่าวคำปราศรัยถ่ายทอดเกี่ยวกับการคาดการเชิงบวกในด้านโอกาสและพื้นที่ความร่วมมือที่กว้างขึ้นที่ได้จากการค้าระหว่างไทย-จีน ภายใต้กรอบความตกลง RCEP

คุณหวังลี่ผิงอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวถึง

บริการการค้าเป็นส่วนหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศซึ่งการพัฒนาการบริการการค้าจะเป็นการส่งเสริมดุลการค้าและความเกื้อกูลทางการค้าเป็นอย่างมากปัจจุบันความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทย-จีนกำลังพัฒนาไปในทางที่ดีและรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดCovid19 การค้าไทย-จีนกลับเติบโตเพิ่มขึ้นจากสถิติล่าสุดปริมาณการค้าระหว่างไทย-จีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมอยู่ที่ 74.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปีเพิ่มขึ้น 37% ตามอัตราการเติบโตปริมาณการค้าระหว่างไทย-จีนจะทะลุ 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 และอาจสูงถึง 130 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ถ้าสามารถรักษาสถานการณ์นี้ต่อไปได้ 5 ปี คำนวณแล้ว ปริมาณการค้าระหว่างไทย-จีนจะทะลุเกิน 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการค้าทวิภาคีความร่วมมือการบริการการค้าของทั้งสองฝ่ายก็จะนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ด้านการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่

คุณหวังลี่ผิงยังชี้ให้เห็นว่าบริษัทไทยและจีนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทางการค้าของทั้งสองฝ่ายในอนาคตใน 3 ด้าน

ประการแรกคือ เพิ่มความร่วมมือในการลงทุนโครงการเพื่อให้ความร่วมมือทวิภาคีเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ทุกคนรู้ดีว่าวิธีการส่งเสริมการค้านี้มีข้อจำกัดเสมอ ในอนาคต การเติบโตแบบทวีคูณรวดเร็วของการค้าจะไม่สามารถทำได้หากไม่มีการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น สินค้าเกษตรของไทยเรา สถิติมันสำปะหลัง 98% ไทยส่งออกมันสำปะหลังไปตลาดจีน 98% ส่งออกผลไม้ไปจีน 70% กล้วยส่งออกไปจีน 1/3 และข้าว 1/10 การส่งออกสินค้าบางประเภทถึงขีดจำกัดการส่งออก ถ้าต้องการรักษาการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไป ก็จะต้องเริ่มจากการขยายขนาดการผลิตจากแหล่งที่มา

ข้อเสนอที่สองคือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ โดยส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี แน่นอนว่าการบริการโลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญของการค้าบริการ ทุกคนรู้ดีว่าเส้นทางรถไฟจีน-ลาวจะเปิดให้บริการในวันที่ 2 ธันวาคมปีนี้ รถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยยังเดินหน้าอย่างเต็มที่ ถ้าหากรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยและรถไฟจีน-ลาวเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน จะเป็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการบริการการค้าทวิภาคีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน สินค้าเกษตรของไทยสามารถส่งจากภาคใต้ของไทยไปยังยูนนาน ประเทศจีนได้ภายในวันเดียวการขนส่งที่สะดวกจะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดค่าขนส่งนำมาซึ่งโอกาสที่ดีที่ไม่เคยมีมาก่อนในการค้าสินค้าของทั้งสองฝ่าย

ประการที่สามคือ การเพิ่มความสำคัญและส่งเสริมปรับปรุงระบบการรับประกันการบริการการค้าของเราซึ่งรวมถึงการควบคุมคุณภาพ พิธีการทางศุลกากร การบริการการขนส่งและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ได้มีลำไยอบแห้งที่ทางศุลกากรจีนได้ค้นพบเจอว่า ลำไยอบแห้งในประเทศไทยบางส่วนมีศัตรูพืชและเสนอให้ประเทศไทยมีการตรวจสอบคุณภาพและแหล่งที่มาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการส่งออกไปประเทศจีน หลังจากได้มีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับศุลกากรจีน รวมถึงมาตรการเข้มงวดของไทย ทำให้การส่งออกลำไยอบแห้งไปจีนกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ดังนั้นเมื่อการพัฒนาการบริการการค้าด้านนี้พัฒนาขึ้นระบบการรับประกันการบริการจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าตามปกติและแข็งแรง

คุณหวังลี่ผิง ยังหวังด้วยว่าหลังจากการลงนาม RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ผู้ประกอบการไทยและจีนจะสามารถใช้ประโยชน์และขยายการบริการการค้าทวิภาคีได้ ในขณะเดียวกันต้องเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการยกระดับความร่วมมือด้านการลงทุนของทั้งสองฝ่ายไปสู่อีกระดับ

คุณชิยาวรรณ จงวัฒนา อัครราชทูตฝ่ายพาณิชย์จากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวถึงสถานการณ์โลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงการมาของยุคดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดการดำเนินการตามความตกลง RCEP เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันข้อบทต่างๆ ในความตกลง RCEP สามารถรองรับประเด็นทางการค้าใหม่ๆ มีผลส่งเสริมต่อการพัฒนากระบวนการด้านอีคอมเมิร์ช ข้อตกลง RCEP ยังครอบคลุมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาโดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลของการคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาค นอกจากนี้ RCEP ยังจะช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจส่งเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้สมาชิก RCEP มีศักยภาพและตอบสนองต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ความตกลง RCEP ยังจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจโลกให้มีการค้าอย่างเสรีมากขึ้น และส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีในเวทีการค้าโลก ซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้ภูมิภาคและประชาชนในภูมิภาคได้รับประโยชน์อย่างครอบคลุมและยั่งยืน

ความทันสมัย ครอบคลุม และมีมาตรฐานสูงของความตกลง RCEP สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลและสถานการณ์โควิด-19 ได้ และมั่นใจว่าความตกลง RCEP จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสมาชิก หลังจากสถานการณ์โควิด-19และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาค

คุณชิยาวรรณ จงวัฒนา ยังพูดถึงโอกาสที่ไทยและจีนได้จากความตกลง RCEP นอกจากจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ระหว่างกันแล้วภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนแล้ว ภายใต้ความตกลง RCEP ทั้งสองประเทศยังได้เปิดตลาดการค้าสินค้าเพิ่มเติมจากที่เปิดตลาด เช่น ผลิตภัณฑ์ประมง กระดาษ ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็กและโลหะ ขณะที่ในภาคบริการและการลงทุนประเทศไทยก็ได้เปิดตลาดเพิ่มเติมให้จีนในหลายสาขา เช่น บริการสนับสนุนการใช้งานซอฟแวร์บริการให้คำปรึกษาด้านซอฟแวร์ บริการค้าปลีกสินค้าที่ผู้ขายเป็นผู้ผลิตเองในไทยภายใต้ยี่ห้อของตนเอง บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอากาศยาน เป็นต้น

คุณณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานสมาพันธ์หอการค้าไทย-จีน คุณชัย ธนิชานันท์ นายกสมาคมนักธุรกิจปักกิ่ง ประเทศไทยและคุณหลี่ เฟิง หัวหน้าผู้แทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำประเทศไทยคณะผู้จัดการประชุมหลัก กล่าวสุนทรพจน์

คุณชนินทร์ ขาวจันทร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ขึ้นบรรยายในหัวข้อ ข้อดีของการลงทุนในประเทศไทยภายใต้กรอบ RCEP มีอะไรบ้างให้เห็นความชัดเจนมากยิ่งในการลงทุนในประเทศไทยภายใต้กรอบ RCEP

คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล รางกรรมอาวุโสธนาคารกรุงเทพ ขึ้นบรรยายในหัวข้อ “แนวโน้มการพัฒนาด้านเศรษฐกิจประเทศไทย รวมทั้งธุรกิจรูปแบบใหม่ในอนาคตภายใต้ RCEP ในยุคหลังCovid19” แนวโน้มเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดCovid19จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ก่อนการแพร่ระบาดCovid19ศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกได้เปลี่ยนมาที่เอเชีย และแนวโน้มหลังCovid19 จะยังคงเปลี่ยนไปที่จีนอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการแพร่ระบาดCovid19 แต่ในขณะเดียวกันก็ให้โอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่นเดียวกับโรคซาร์สเมื่อต้นปี 2000 ที่ทำให้จีนเริ่มพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น บริษัท Alibaba และ Tencent ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว Covid19จะเป็นตัวขับเคลื่อนของการนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปีครึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาถึงสิบปีกว่าจะสำเร็จ

คุณเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย(Thai Subcon) กล่าวแนะนำขอบเขตและหน้าที่ของสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย ดังนี้ ส่งเสริมให้บริษัทผลิตผู้รับเหมาช่วงของสมาชิกในประเทศไทยแสดงศักยภาพจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย เป็นผู้นำระดับโลกด้านการผลิตแบบรับเหมาช่วงและทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตส่วนประกอบที่สำคัญ

คุณกัวเสี่ยวฮุย จากนิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง ผู้ร่วมจัดการประชุมครั้งนี้ ได้แนะนำนิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง33 นิคมอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ที่ผสานเอาเทคโนโลยี นิเวศวิทยา และภูมิปัญญาไว้ด้วยกัน ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับบริษัทที่ลงทุนในประเทศไทยและช่วยในด้านการพัฒนาในประเทศไทย

บริษัท เอ็มพาตี้ คอนซัลติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด Fan Deng Reading Club Thailand และบริษัท โฮม ซิตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด แชร์ประสบการณ์ด้านปัญหาและความเสี่ยงที่อาจพบในการเริ่มต้นธุรกิจ โอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตของจีนในประเทศไทยและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ — ความแตกต่างกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนตามลำดับ

คุณอรทิพา วิทยาอารีย์กุล รองนายกสมาคมนักธุรกิจปักกิ่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินการประชุม

การสัมมนาในครั้งนี้ได้วิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าของไทย-จีนภายใต้กรอบ RCEP จากรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจจากมุมมองต่างๆ เพื่อวางรากฐานหลายมุมสำหรับความร่วมมือของบริษัททั้งสองประเทศ การประชุมจบลงอย่างสมบูรณ์จากความร่วมมือของแขกผู้มีเกียรติผู้บรรยายและบริษัทที่เข้าร่วม

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดCovid19 ของประเทศไทย ทำให้มีการควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในห้องประชุมอย่างเข้มงวด และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการประชุม รับชมไฮไลท์การประชุมไปด้วยกัน