แหล่งที่มา : ฮั่นปั้นกรุงเทพมหานคร

ที่มา

ในปี พ. ศ. 2563 เป็นปีที่ประเทศไทยและจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตครบรอบ45 ปี และเป็นปีที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงศึกษาภาษาจีนครบ 40 ปี เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ “จีนไทยดั่งญาติมิตร” ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวมิตรภาพอันงดงามของประชาชนชาวไทยและชาวจีน ส่งเสริมให้ประชาชนจากทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นจึงมีแผนงานจัดการแข่งขันหนังสั้น “สะพานสู่ภาษาจีน” ของประเทศไทยขึ้น

ผู้ดำเนินการจัดการ

ผู้จัดงานหลัก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศสำนักงานกรุงเทพฯ

ผู้ประสานงาน สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยประเทศจีนสมาคมครูจีน (ประเทศไทย) เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน คลับสะพานสู่ภาษาจีน ประจำกรุงเทพมหานคร

ผู้สนับสนุน บริษัทไชน่าโมบายล์ บริษัทเถิงต๋าทัวร์กรุ๊ปจำกัด มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยบัณฑิต

หัวข้อการแข่งขัน

中泰手足情 ไทยจีนสัมพันธ์แน่นแฟ้น

ระยะเวลาการส่งผลงาน

วันที่ 30 กันยายน- วันที่ 30พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

ไม่จำกัดสัญชาติ อายุและภาษา

รูปแบบของผลงานที่ส่งเข้าประกวด

  1. มิตรภาพไทยจีนในสายตาของฉันเรื่องราวที่แสดงถึงมิตรภาพอันดีของไทย-จีนในมุมมองของประชาชนทั้งสองประเทศตัวอย่างเช่น เรื่องราวของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงศึกษาภาษาจีนเรื่องราวมิตรภาพของไทยและจีนเป็นต้น
  2. การสัมผัสถึงวัฒนธรรมไทยและจีน จากมุมมองของประชาชนชาวไทยและชาวจีนที่มีต่อวัฒนธรรมที่เหมือนและแตกต่างของทั้งสองประเทศทั้งทางด้านประเพณีวัฒนธรรม วัฒนธรรมทางด้านอาหาร ภาพยนตร์บันเทิงเป็นต้น
  3. ความคาดหวังต่อมิตรภาพไทยจีนคำพูดหรือความคาดหวังในอนาคตของประชาชนชาวไทยและจีนที่มีต่อมิตรภาพของสองทั้งประเทศ
  4. จีนไทยร่วมต้านโรคร้าย มุมมองของประชาชนชาวไทยและชาวจีนที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการร่วมมือฟันฝ่าโรคร้ายของทั้งสองประเทศ
  5. เรื่องการเรียนภาษาจีนมุมมองของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนภาษาจีน

ข้อกำหนดการรวบรวมผลงาน

ต้องมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อ "ไทยจีนสัมพันธ์แน่นแฟ้น" เนื้อหาจะต้องไปในทางที่ดี ไม่ขัดต่อกฎหมายข้อกำหนดของทั้งสองประเทศไม่ขัดต่อจริยธรรมขั้นพื้นฐาน และไม่ปรากฏเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองที่อ่อนไหว

ผลงานการสร้างสรรค์ของผู้เข้าแข่งขัน กำหนดระยะเวลาความยาวตั้งแต่20 วินาทีจนถึง 5 นาทีรูปแบบของไฟล์ได้แก่ MP4, MOV, AVI

ความละเอียดของไฟล์ ต้องไม่ต่ำกว่า 720* 1280 ภาพต้องนิ่ง ไม่มีการสั่นไหวที่มีผลรับรู้ สนับสนุนให้มีการเติมคำบรรยาย(ภาษาจีนตัวย่อหรือภาษาไทย) ถ่ายในแนวนอนด้วยสัดส่วน 16 :9 ถ่ายในแนวตั้งด้วยสัดส่วน9 : 16

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องมีคำอธิบายเกี่ยวกับผลงานรวมทั้งแสดงชื่อนามสกุล อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อผลงาน ช่วงเวลาในการถ่ายทำ สถานที่ในการถ่ายทำรวมทั้งคำอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาสั้นๆ

ข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์

ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่ผู้เข้าประกวดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง มิได้ละเมิดสิทธิของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งทางด้านสิทธิของผู้สร้างสรรค์ผลงานตราสินค้า หรือสิทธิทางความรู้ของผู้อื่น ลิขสิทธิ์ของผลงานของผู้ชนะและผู้เข้ารอบจะตกเป็นของผู้ดำเนินการจัดการโดยผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันมีสิทธิในการนำผลงานไปใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ทำซ้ำเพื่อเผยแพร่(รวมถึงทางด้านอิเล็กทรอนิกส์) รวมทั้งสิทธิในการจัดแสดง โดยอำนาจในการตีความขั้นสุดท้ายเป็นของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน

รางวัล

  1. รางวัลทั่วไป
    รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
    รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวนสอง 2 รางวัล
    รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 3 รางวัล
    รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล
  2. รางวัลเฉพาะด้าน
    รางวัลเรื่องราวยอดเยี่ยมจำนวน 1 รางวัล
    รางวัลตัดต่อยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล
    รางวัลขวัญใจชาวเน็ต จำนวน1 รางวัล
    รางวัลกลุ่มยอดเยี่ยม จำนวน 2 รางวัล

วิธีสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน

การแข่งขันครั้งนี้จะรวบรวมผลงานออนไลน์สามารถส่งผลงานหรือแชร์ลิงค์google driveไปยังอีเมล์ Email住址會使用灌水程式保護機制。你需要啟動Javascript才能觀看它

ตั้งชื่อไฟล์เป็น"ชื่อหนังสั้น-ชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน-หน่อยงานหรือสถานศึกษา”

ช่องทางติดต่อ

เชิญผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันหรือหน่วยงานสแกนคิวอาร์โค้ดเข้ากลุ่มประสานงานเพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากคณะจัดงาน